สุรินทร์ภักดี สำนักงานบัญชี

89 หมู่ 18 ถ.ศรีพัฒนา ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000

116 วัน จากวันแม่ถึงวันพ่อ

ภาพสัญลักษณ์มือ ที่เกาะเกี่ยวเป็นรูปหัวใจ แทนความหมายของพลังสามัคคี คนไทยที่เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล้า สู่หนึ่งศูนย์กลางของหัวใจคนไทยทั้งประเทศ นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยใช้สีฟ้าและเหลือง อันเป็นสีประจำทั้งสองพระองค์ ตัวหนังสือชื่อโครงการที่ใช้ก็เช่นเดียวกัน สุดท้าย กับคำว่า “สามัคคี” แทนสีที่ใช้ คือ สีธงชาติ 2 สีคือสถาบันชาติ สีแดง และแสดงถึงคนไทย และสถาบันพระมหากษัตริย์ สีน้ำเงิน ศูนย์กลางรวมใจของไทยทั้งชาติ โดยสัญลักษณ์ของโครงการ นอกจากจะปรากฏบนธงที่จะนำไปประกอบกิจกรรมการเดิน – วิ่ง ทั่วประเทศแล้วนั้น ยังจะปรากฏบนสายรัดข้อมือที่จำหน่ายเป็นเครื่องหมาย ที่ระลึกแสดงเจตจำนงของการร่วมพลังสามัคคีอีกด้วย

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความหมายของสมการบัญชีและงบดุล

สมการบัญชี หมายถึง ความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องมีลักษณะสมดุลกันเสมอ
งบดุล หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้น เพื่อแสดงให้ทราบถึงฐานะการเงินของบุคคลหรือกิจการค้า ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ประเภทของงบดุล งบดุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. งบดุลแบบบัญชี
2. งบดุลแบบรายงาน
ประโยชน์ของงบดุล คือ ทำให้ทราบฐานะการเงินของบุคคลหรือกิจการค้าว่ามีจำนวนเท่าใด และยังทำให้ทราบว่าจำนวนเงินสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ( ทุน ) มีจำนวนเท่าใด
วิธีการจัดทำงบดุล
1. ส่วนหัวของงบดุล ประกอบด้วย 3 บรรทัด ดังนี้
บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อบุคคลหรือชื่อกิจการค้า
บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่างบดุล
บรรทัดที่ 3 เขียน วัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
2. แบ่งงบดุลออกแบบ 2 ด้านๆละเท่ากัน ด้านซ้ายให้เขียนว่า สินทรัพย์ ด้านขวาให้เขียนว่า หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
3. ให้เขียนรายการ สินทรัพย์ไว้ด้านซ้าย พร้อมจำนวนเงิน เขียนรายการหนี้สิน และส่วนของ เจ้าของ ( ทุน ) ไว้ด้านขวา พร้อมจำนวนเงิน



ตัวอย่างเรื่อง สมการบัญชีและการทำงบดุล

ตัวอย่างที่ 1 สมการบัญชี
กรณีกิจการไม่มีหนี้สิน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้
สินทรัพย์ = ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
กรณีกิจการมีหนี้สิน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
หรือ ทุน = สินทรัพย์ - หนี้สิน
ตัวอย่างที่ 2 การคำนวณหาสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ โดยใช้สมการบัญชี

กิจการของนายสุชาติ มีสินทรัพย์ดังนี้ เงินสด 45,000 บาท เงินฝากธนาคาร 65,000 บาท เครื่องตกแต่งร้าน 20,000 บาท อาคาร 600,000 บาท ที่ดิน 400,000 บาท สมมติว่านายสุชาติได้กู้เงินธนาคาร จำนวน 120,000 บาท แสดงว่านายสุชาติมีหนี้สิน 120,000 บาท ให้หาทุนของนายสุชาติ มีเท่าไร
วิธีทำ ให้รวมสินทรัพย์ทั้งหมดของนายสุชาติ ซึ่งเท่ากับ 1,130,000 บาท (45,000+65,000+20,000+600,000+400,000) คือเอาตัวเลขของสินทรัพย์นายสุชาติ มารวมกัน ให้ใช้หลักสมการบัญชีคือ ทุน = สินทรัพย์-หนี้สิน
สินทรัพย์ = 1,130,000
หนี้สิน = 120,000

สมการบัญชี ทุน = สินทรัพย์-หนี้สิน
1,010,000 = 1,130,000 – 120,000
1,010,000 = 1,010,000

ไม่มีความคิดเห็น:

ชาวสุรินทร์ภักดี