สุรินทร์ภักดี สำนักงานบัญชี

89 หมู่ 18 ถ.ศรีพัฒนา ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000

116 วัน จากวันแม่ถึงวันพ่อ

ภาพสัญลักษณ์มือ ที่เกาะเกี่ยวเป็นรูปหัวใจ แทนความหมายของพลังสามัคคี คนไทยที่เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล้า สู่หนึ่งศูนย์กลางของหัวใจคนไทยทั้งประเทศ นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยใช้สีฟ้าและเหลือง อันเป็นสีประจำทั้งสองพระองค์ ตัวหนังสือชื่อโครงการที่ใช้ก็เช่นเดียวกัน สุดท้าย กับคำว่า “สามัคคี” แทนสีที่ใช้ คือ สีธงชาติ 2 สีคือสถาบันชาติ สีแดง และแสดงถึงคนไทย และสถาบันพระมหากษัตริย์ สีน้ำเงิน ศูนย์กลางรวมใจของไทยทั้งชาติ โดยสัญลักษณ์ของโครงการ นอกจากจะปรากฏบนธงที่จะนำไปประกอบกิจกรรมการเดิน – วิ่ง ทั่วประเทศแล้วนั้น ยังจะปรากฏบนสายรัดข้อมือที่จำหน่ายเป็นเครื่องหมาย ที่ระลึกแสดงเจตจำนงของการร่วมพลังสามัคคีอีกด้วย

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความหมายของสมการบัญชีและงบดุล

สมการบัญชี หมายถึง ความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องมีลักษณะสมดุลกันเสมอ
งบดุล หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้น เพื่อแสดงให้ทราบถึงฐานะการเงินของบุคคลหรือกิจการค้า ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ประเภทของงบดุล งบดุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. งบดุลแบบบัญชี
2. งบดุลแบบรายงาน
ประโยชน์ของงบดุล คือ ทำให้ทราบฐานะการเงินของบุคคลหรือกิจการค้าว่ามีจำนวนเท่าใด และยังทำให้ทราบว่าจำนวนเงินสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ( ทุน ) มีจำนวนเท่าใด
วิธีการจัดทำงบดุล
1. ส่วนหัวของงบดุล ประกอบด้วย 3 บรรทัด ดังนี้
บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อบุคคลหรือชื่อกิจการค้า
บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่างบดุล
บรรทัดที่ 3 เขียน วัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
2. แบ่งงบดุลออกแบบ 2 ด้านๆละเท่ากัน ด้านซ้ายให้เขียนว่า สินทรัพย์ ด้านขวาให้เขียนว่า หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
3. ให้เขียนรายการ สินทรัพย์ไว้ด้านซ้าย พร้อมจำนวนเงิน เขียนรายการหนี้สิน และส่วนของ เจ้าของ ( ทุน ) ไว้ด้านขวา พร้อมจำนวนเงิน



ตัวอย่างเรื่อง สมการบัญชีและการทำงบดุล

ตัวอย่างที่ 1 สมการบัญชี
กรณีกิจการไม่มีหนี้สิน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้
สินทรัพย์ = ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
กรณีกิจการมีหนี้สิน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
หรือ ทุน = สินทรัพย์ - หนี้สิน
ตัวอย่างที่ 2 การคำนวณหาสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ โดยใช้สมการบัญชี

กิจการของนายสุชาติ มีสินทรัพย์ดังนี้ เงินสด 45,000 บาท เงินฝากธนาคาร 65,000 บาท เครื่องตกแต่งร้าน 20,000 บาท อาคาร 600,000 บาท ที่ดิน 400,000 บาท สมมติว่านายสุชาติได้กู้เงินธนาคาร จำนวน 120,000 บาท แสดงว่านายสุชาติมีหนี้สิน 120,000 บาท ให้หาทุนของนายสุชาติ มีเท่าไร
วิธีทำ ให้รวมสินทรัพย์ทั้งหมดของนายสุชาติ ซึ่งเท่ากับ 1,130,000 บาท (45,000+65,000+20,000+600,000+400,000) คือเอาตัวเลขของสินทรัพย์นายสุชาติ มารวมกัน ให้ใช้หลักสมการบัญชีคือ ทุน = สินทรัพย์-หนี้สิน
สินทรัพย์ = 1,130,000
หนี้สิน = 120,000

สมการบัญชี ทุน = สินทรัพย์-หนี้สิน
1,010,000 = 1,130,000 – 120,000
1,010,000 = 1,010,000

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดี

นักบัญชีที่ดี ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีความซื่อสัตย์ ละเอียด ถี่ถ้วน รอบคอบ ขยัน และอดทน
2. ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา
3. หลักฐานหรือเอกสารการเงิน – การบัญชีทุกฉบับ ควรเก็บรักษาไว้ที่ปลอดภัยตามเวลาที่กฎหมายกำหนด
4. รักษาความสะอาด และความเรียบร้อยของสมุดบัญชีทุกเล่ม
5. การมอบ หรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ตรวจให้ละเอียด, ถี่ถ้วน, เรียบร้อย
6. การจ่าย หรือรับเงินทุกครั้ง เรียกหลักฐานเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการลงบัญชี
7. การทำบัญชีพบการทุจริต เสียหาย ต้องรีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เพื่อหาทางแก้ไข
8. มีจรรยาบรรณของนักบัญชี ไม่เปิดเผยข้อมูล และไม่วิจารณ์ การดำเนินงานของ กิจการที่ทำบัญชีอยู่

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความหมายของ "การบัญชี" และ "การทำบัญชี"

การบัญชี (Accounting) หมายถึง งานศิลปะของการนำรายงานและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์
คำว่า การบัญชี (Book-keeping) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมาย เช่น "การบัญชี คือ การจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงิน และสิ่งที่มีค่าเป็นเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้"
การทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึง งานประจำที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกและรวบรวมข้อมูลประจำวันเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินได้ การทำบัญชีเป็นงานย่อยส่วนหนึ่งของการบัญชีบุคคลผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชี เรียกว่า นักบัญชี (Accountant) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่บันทึกและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเงินประจำวัน เรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าไว้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความรู้เรื่องภาษี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.....
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?
เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?
ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปีภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกกรณีหรือไม่?
เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง?
ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร?
เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?
เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?
ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?
ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อใด?
ยื่นแบบแสดงรายการได้ที่ไหน?
การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง?
หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่
ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?
บัญชีอัตราภาษี


ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
รอบระยะเวลาบัญชี
กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)
อัตราภาษีและการคำนวณภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
บัญชีอัตราภาษี
http://www.rd.go.th/publish/308.0.html


ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ฐานภาษีและอัตราภาษี
หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ
กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ธ.40)
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
http://www.r
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ฐานภาษีและอัตราภาษี

ชาวสุรินทร์ภักดี